วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด

 อาณาเขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด





ตกกลางท่งแล้วล้าเดินฝ่าเทิงหัว
เห็นแต่ท่งเป็นทิวมือกุมควันกุ้ม
เหลียวไปไสฟ้าหุ้งงุมลงคือสักสุ่ม
มือกลางเวนจุ้มกุ้มคงไม้กะบ่มี
คักละนอบาดนี่หลงท่งคนเดียว
ถิ่มฮอดถงกะเทียวย่ามของสินค้า
เหลียวทางหลังทางหน้ากุลายั้งบ่อยู่
ลมออกหูจ้าวจ้าวไคค้าวย่าวไหล
จนปัญญาแล้วไห้เทิงจ่มระงมหา
คึดฮอดภรรยาลูกเมียอยู่ทางบ้าน
ลมอัสสวาสกั้นเนื้อสะเม็นเย็นหนาว
อ้าปากหาวโหยแฮงแข้งลาขาล้า
เพื่อไปนำกองหญ้าเวลาค่ายค่ำ
ยากนำปากและท้องเวรข่อยจ่องเถิง
ป่าหญ้าแฝกอึ้งตึงกุลาฮ่ำโมโห
ตายย้อนความโลโภล่องเดินเทียวค้า
ใจคะนึงไปหาโศกาไห้ฮ่ำ
คึดผู้เดียวอ้ำล้ำทางบ้านบ่เห็น
ในหนังสือกล่าวไว้บอกว่ากุลา
หรือแม่นไปทางได้แต่นานมาไว้
ท่งกุลาฮ้องไห้ที่หลังท้ายหมู่
อยู่โดนมาแต่พ้นพันร้อยกว่าปี


              สถานที่ตั้งทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ไร่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดมหาสารคาม   พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 700,000 ไร่ อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอโพนทราย อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอปทุมรัตน์ นอดีต ทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย



ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามอำเภอชุมพลบุรีและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทรายและอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ดอำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษอำเภอค้อวังและอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร


 การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ปกติแล้วชนเผ่ากุลาเป็นชนเผ่าที่มีความอดทนสูงมาก สู้งาน สู้แดด ลม ฝน แต่เมื่อได้เดินทางผ่านทุ่งแห่งนี้ ที่มีพื้นที่กว้างขวางเหลือประมาณ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินก็เป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" 

ในอดีต ทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย
















การเดินทาง: 700,000 ไร่ อยู่ในเขต จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอโพนทราย อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอปทุมรัตน์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น